วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โครงการพระราชดำริ


โครงการฝนหลวง

บัดนี้ โครงการฝนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริไว้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลแก่อาณาประชาราษฎร์ ช่วยให้พื้นที่ที่เคยแห้งแล้งกลับมีความชุ่มชื่น ก่อให้เกิดความชุ่มฉ่ำแก่แผ่นดิน แม้แต่น้ำในเขื่อนต่างๆ ที่ใกล้จะหมดก็มีปริมาณมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณ ในพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ที่มาhttp://tka29005.blogspot.com/


โครงการปลูกหญ้าแฝก



พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝกมีใจความสรุปได้ว่า

            ๑. หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมา
                 ศึกษาทด ลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง

            ๒. การดำเนินการทดลองการปลูกหญ้าแฝก ให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ดังนี้
                        ก. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
                            และช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย
                        ข. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ราบ ให้ดำเนินการในลักษณะดังนี้
                                    - ปลูกโดยรอบแปลง
                                    - ปลูกลงในแปลง แปลงละ ๑ หรือ ๒ แนว
                                    - สำหรับแปลงพืชไร่ ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
                        ค. การปลูกหญ้าแฝกรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำมิให้ตื้นเขินอันเนื่องมาจากตะกอนจากการพังทลายของดิน ตลอดจนช่วยรักษาดินเหนือ
                             อ่างและช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำทวีความสมบูรณ์ขี้นอย่างรวดเร็ว
                        ง. การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกแฝกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำทั้งนี้ให้บันทึกภาพ
                            ก่อนดำเนินการและหลังการดำเนินการไว้เป็นหลักฐาน

            ๓. ผลของการศึกษาทดลอง ควรเก็บข้อมูลทั้งทางด้านการเจริญเติบโตของลำต้นและราก ความสามารถในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของดินและการเก็บความชื้นในดินและเรื่องพันธุ์หญ้าแฝกต่าง ๆ

            ด้วยกรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ รวมไปถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนน ได้ร่วมในโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานด้านบำรุงทางและก่อสร้างทาง โดยเฉพาะทางหลวงที่ตัดใหม่ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินลาดคันทางและลาดเหนือคันทางในสายทางต่าง ๆ พร้อมทั้งส่งเสริมแผยแพร่ข้อมูลเทคนิควิชาการเกี่ยวกับหญ้าแฝกแก่หน่วยงานในส่วนภูมิภาค และจัดทำวิดีทัศน์โครงการปลูกหญ้าแฝกเกี่ยวกับการประยุกต์ เทคนิควิธีการปลูกหญ้าแฝกในงานทาง

      พื้นที่เป้าหมายใการดำเนินการปลูกหญ้าแฝกของกรมทางหลวงคือ เชิงลาดดินตัดเหนือคันทาง (Back Slope) เชิงลาดดินถมคันทาง (Side Slope) ที่สูงและมีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้างพังทลายของดิน สำหรับสายทางในพื้นที่ ภูเขา ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยดินทรายที่สลายตัวมาจากหินแกรนิตและหินทราย เป็นพื้นที่เป้าหมายเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและการอนุรักษ์ดิน

  การปลูกหญ้าแฝกบริเวณเชิงลาดทางมีอยู่ ๒ ลักษณะ ขึ้นอยู่กับสภาพความรุนแรงหรือแนวโน้มของการจะเกิดการชะล้างพังทลายของเชิงลาดทางคือ

            ๑. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่มีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินต่ำ การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เชิงลาดนี้เป็นรูปแบบการปลูกโดยทั่วไปมีลักษณะการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางแนวลาดเท โดยมีระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวอยู่ในช่วง ๑๐ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเท ประมาณ ๑.๐๐ เมตร

            ๒. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่ได้เกิดการชะล้างพังทลายหรือมีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินสูง การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลักษณะนี้เพื่อลดหรือป้องกันไม่ให้การพังทลายของดินเกิดลุกลามขยายตัวรุนแรงขึ้น หรือเป็นการปลูกในงานก่อสร้างแก้ไขการเคลื่อนตัวของดิน ลักษณะการปลูกจะลดระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวเป็น ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเทประมาณ ๕๐ เซนติเมตร

  จากการดำเนินการโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกของกรมทางหลวง สามารถสรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้

            ๑. การปลูกหญ้าแฝกบริเวณพื้นที่เชิงลาดถนนสามารถป้องกันหรือลดการชะล้างพังทลายของดินได้ และเป็นวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ราคาถูก ให้
                 ผลทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
            ๒. การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็น "Long Term Stabilized Slope" ในสภาวะที่เหมาะสมหลังการปลูกเป็นเวลา
                 ประมาณ ๑ ปี หรือ ๑ ฤดูฝน หญ้าแฝกจึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้ เนื่องจากรากจะเจริญเติบโตยาวประมาณ
                 ๑ เมตร และกอหญ้าแฝกในแถวจะเจริญเติบโตชิดติดกัน
            ๓. ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหญ้าแฝกเป็นช่วงตันฤดูฝนหรือช่วงระยะเวลาในฤดูฝน
            ๔. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกหญ้าแฝกประสบผลสำเร็จจ ได้ผลดีมีอัตราการรอดตายสูง คือ ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสม การปลูกหญ้า
                 แฝกในพื้นที่ภาคใต้ได้ผลดี เนื่องจากมีฤดูฝนยาวนานถึง ๗ เดือน
            ๕. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณลาดดินถมคันทาง (Side Slope) จะได้ผลดี หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกบริเวณลาดดินตัดเหนือคันทาง
                 (Back Slope) เนื่องจากสภาพความสมบูรณ์และลักษณะความแน่นของดิน
            ๖.หลังการปลูกหญ้าแฝกมีความจำเป็นที่ต้องดูแลรักษา กำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ย เป็นเวลา ๑ - ๒ ปี
            ๗. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้าง พังทลายของดินได้สูงหรือรุนแรงหรือบริเวณที่ได้เกิดการเคลื่อนตัวของดินแล้วให้ลด
                 ระยะห่างของการปลูกลงโดยมีระยะห่างระหว่างกอแฝก ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร
            ๘. กล้าหญ้าแฝกที่ปลูกควรเป็นกล้าแฝกที่ปลูกชำในถุงพลาสติกที่อภิบาลไว้ก่อนนำไปปลูกประมาณ ๔๕ - ๖๐วัน
            ๙. การปลูกหญ้าแฝกในบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ภาคเหนือหญ้าแฝกไม่เจริญเติบโตหรือเจริญเติบโตไม่ดี เนื่องจากหญ้าในพื้นที่หรือวัชพืช
                 เจริญเติบโตงอกงามและแพร่พันธุ์ได้เร็วกว่า

                กรมทางหลวงได้นำเทคนิควิธีการหญ้าแฝกมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน และได้มีการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เทคนิคการปลูกหญ้าแฝกในงานทางแก่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงในส่วนภูมิภาค เพื่อเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงได้มีความรู้เข้าใจถึงประโยชน์ของหญ้าแฝกในการป้องงกันการชะล้างพังทลายของดิน เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นและประหยัดงบปประมาณด้านบำรุงรักษา โดยได้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ปลูกในสายทางต่าง ๆ ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ในสายทางพื้นที่ภูเขาภาคเหนือ-ภาคใต้ ในลักษณะที่เป็นงานส่วนหนึ่งซี่งสามารถกระทำได้เป็นปกติ ที่ดำเนินการได้เอง เมื่อเกิดปัญหาในงานบำรุงปกติ งานก่อสร้างแก้ไขการเคลื่อนตัวของเชิงลาด (Slide) ตลอดจนแขวงการทางบางแห่งได้มีการปลูกขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝกสำรองไว้ใช้เอง

          กรมทางหลวงได้ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่สายทางงานก่อสร้างทางและงานบำรุงทาง ในแต่ละปีประมาณ ๔ ล้าน กล้า เพื่อเป็นการ "ปลูกหญ้าแฝก ปลูกแผ่นดิน" ตามแนวพระราชดำริ

 ที่มาhttp://siweb.dss.go.th/sci60/team49/work/work_9.htm



โครงการแกล้งดิน


แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นท ี่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก ๑ - ๒ เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก

ที่มาhttp://dit.dru.ac.th/ka/a33.php



โครงการพลังงาานทดแทน


   พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลชีวมวลจากน้ำมันปาล์ม (โดยสังเขป)ปี 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด จ.กระบี่


          ปี 2531 ทรงมีพระราชกระแสให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็ก ขนาดกำลังผลิตวันละ 110 ลิตร ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

        ปี 2534 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มระบบ “ทอดภายใต้สุญญากาศ”

          3 ก.ย. 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์เริ่มงานทดลองใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันดีเซล ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

          10 พ.ย. 2543 รับสั่งแก่นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ว่าทรงมีพระราชประสงค์จะให้รัฐบาลริเริ่มโครงการแปรรูปน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันดีเซลชีวภาพในประเทศไทย

          12 พ.ย. 2543 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (นายอาทิตย์ อุไรรัตน์) รับจะสนองพระราชดำริ

          ม.ค. 2544 พระราชทานงบประมาณจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวนเงินประมาณ 8 ล้านบาท ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดกำลังผลิต 2 ตันทะลายต่อชั่วโมง ที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด จ.กระบี่ และงบประมาณ 3 ล้านบาท และเครื่องยนต์ขนาด 8 แรงม้า 3 เครื่อง รถไถเดินตามขนาด 11 แรงม้า 2 คัน และขนาด 8 แรงม้า 2 คัน เพื่อใช้ในโครงการทดสอบการใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันดีเซล ในเครื่องจักรกลการเกษตร

          11 เม.ย. 2544 มีพระบรมราชโองการให้องคมนตรี (นายอำพล เสนาณรงค์) เป็นผู้แทนพระองค์ยื่นจดสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์


          18 เม.ย. 2544 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) แถลงแก่คณะรัฐมนตรีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้รัฐบาลดำเนินการวิจัยนำน้ำมันปาล์มมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง

          10 พ.ค. 2544 ในวันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มี 4 หน่วยงาน นำผลงานเกี่ยวกับการวิจัยใช้น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ไปจัดนิทรรศการในพระตำหนักสวนจิตรลดา ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ บริษัท ยูนิวานิช จำกัด

          2 มิ.ย. 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ไปวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่าน ที่ อ.เมือง จ.นครนายก เสด็จ ฯ ถึงสนามจอดเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งเวลาประมาณ 16.30 น. แล้วเสด็จไปทอดพระเนตรบริเวณโดยรอบโครงการบนเขาลอย ซึ่งมีความสูงประมาณ 100 เมตร แล้วเสด็จ ฯ ลงมาบริเวณพลับพลาพิธี เมื่อเสร็จพิธีแล้วเสด็จ ฯ ไปยังอาคารรับรองจนถึงเวลาประมาณ 20.00 น. จึงเสด็จ ฯ กลับพระนคร ตลอดเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งสองพระองค์ได้ประทับรถยนต์พระที่นั่งสีขาว ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 2,000 ซีซี เป็นรถยนต์ที่สร้างในประเทศสเปน ด้านหลังรถพระที่นั่งมีป้ายภาษาไทยเขียนว่า “รถยนต์คันนี้ใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 100 %”

ที่มาhttp://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น