วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งงาน 04

งาน5.9
รูปเปรียบเทียบ งาน 5.9


งาน5.10
รูปเปรียบเทียบ งาน 5.10


งานที่5.11


รูปเปรียบเทียบ งาน 5.11



วันที่ 26 กันยายน 2555


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555


พืชผักสวนครัว


ผักสวนครัว คือผักที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือที่ว่างต่าง ๆ ในชุมชนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกไว้สำหรับรับประทานเองภายในครอบครัวหรือชุมชน การปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานจะทำให้ผู้ปลูกได้รับประทานผักสดที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ มีความปลอดภัยจากสารเคมี ลดรายจ่ายในครัวเรือน และที่สำคัญทำให้สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันในการปลูกผักเพื่อเกิดสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยทั่วไปคนต้องมีการบริโภคผักอย่างน้อย วันละ 200 กรัม เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน
                                 
ประโยชน์ของการปลูกผักสวนครัว
           ปลูกเป็นรั้วบ้าน (รั้วกินได้) ผักที่สามารถนำมาปลูกทำเป็นรั้ว ได้แก่ กระถินบ้าน ชะอม ตำลึง ผักหวาน ผักปลัง ต้นแค ถั่วพู มะระ ฯลฯ ซึ่งเป็นผักที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิตตลอดปีมีคุณค่าทางอาหารสูงและปลอดภัยจากสารเคมี
           สามารถใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน เช่น จัดสวนผักสวนครัว การปลูกต้นแคเป็นรั้วกินได้ การนำผักสวนครัวที่ปลูกในกระถางแบบแขวน-ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆ บ้าน
           ใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์
           ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหารประจำวัน
           ครอบครัวได้รับประทานผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมี
           สร้างความสัมพันธ์และสานสายใยรักที่ดีในครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์


 พืชผักสวนครัว
การปลูกพืชผักสวนครัว มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของชีวิตประจำวัน เพราะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ดี ถ้าปลูกมากมีเหลือก็จำหน่ายได้ และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ขอให้มีความยึดมั่นในธรรมชาติ มีความขยัน และอดทน การปลูกพืชผักสวนครัวมีหลักปฏิบัติ 5 ประการ
การเลือกเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์มีความจำเป็นในการเริ่มต้นในการเพาะปลูก จึงควรศึกษาเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย คัดสรรแล้วเก็บรักษาไว้อย่างดีก่อนปลูก
การเตรียมดิน
คุณภาพของดิน จะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของพืช การให้อาหารแก่ดินด้วยปุ๋ยชีวภาพจะทำให้ดินมีชีวิตและช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุในดิน ให้ดินอุดมพร้อมแก่การเพาะปลูก
2.1           แปลงใหม่ (ดินไม่สมบูรณ์)
                -               ถ้าดินแข็งมาก อาจใช้เครื่องจักรช่วยในการไถก่อน ยกแปลง
                -               ดินขาดอินทรีย์วัตถุ ควรแหวะท้องหมู ใส่ปุ๋ยแห้ง และรดด้วยปุ๋ยน้ำ
                -               ยกร่องให้สวยงาม โรยปุ๋ยแห้ง ตร.ม. ละ 1 กำมือ รดด้วยปุ๋ยน้ำ คลุมด้วยฟางไว้ 5-7 วัน ปลูกพืชด้วยเมล็ดหรือกล้า
                                 
2.2           แปลงเก่า (ดินสมบูรณ์)
                หลังจากตัดผักหรือถอนผักออกแล้ว ถอนหญ้า ปรับปรุงแปลง (ไม่ต้องขุด) แล้วเริ่มต้นดังน
                -               ใส่ปุ๋ยแห้ง ตร.ม.ละ 1-2 กำมือ ใช้จอบสับเบาๆ ให้คลุกกับดิน
                -               คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
                -               รดด้วยปุ๋ยน้ำ 1-2 วัน
                -               หมักไว้ 7 วัน ปลูกด้วยเมล็ดหรือกล้า

การปลูก
3.1 การปลูกด้วยเมล็ด
                -               นำเมล็ดไปแช่ในน้ำจุลินทรีย์ ประมาณ 30 นาที หากผิวเมล็ดแข็งให้แช่นานหน่อย
                -               แหวกหญ้าหรือฟางที่คลุมออก
                -               ใช้ไม้กระดานหน้า 1/2 x 2 นิ้ว กดเป็นรอยลึก 1-2 เซนติเมตร
                -               หยอดเมล็ดตามรอยที่กดไว้
                -               คลุมฟางเหมือนเดิม
                -               รดน้ำเช้าเย็น
                -               2 วันแรกให้รดด้วยปุ๋ยน้ำช่วงเย็นวันละ 1 ครั้ง หลัง จากนั้น ให้รดปุ๋ยน้ำ 3 วัน / ครั้ง นอกนั้นรดน้ำปกติ
                 3.2          ปลูกด้วยกล้า
                การเพาะกล้ามี 2 ชนิด คือ
                                เพาะด้วยกะบะ
                -               อาจเป็นภาชนะสำเร็จรูป หรือใช้ไม้ 1/2 x 2 นิ้ว หรือวัสดุอื่น ทำเป็นกระบะขนาด 50 x 50 หรือ 50 x 70 หรือ 50 x 100 เซนติเมตร ให้สามารถยกย้ายและวางบนพื้นได้สะดวก
                -               ผสมปุ๋ยแห้งกับดินร่วน แกลบเผา อัตราส่วน 1 : 5 : 3 ลงในกระบะ
                -               หยอดเมล็ดหรือหว่านเมล็ดให้ทั่วอย่าให้แน่นเกินไป
                -               คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางบางๆ
                -               รดด้วยปุ๋ยน้ำให้ชุ่ม
                -               จากนั้นรดน้ำ เช้า-เย็น
                -               รดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นติดต่อกัน 3 วัน หลังจากนั้นรดปุ๋ยน้ำ 3 วัน/ครั้ง
                                 การเพาะในแปลง
                -               นำปุ๋ยแห้งและแกลบเผาผสมในดิน ในแปลง คลุกให้ทั่ว ทำหน้าดินให้ละเอียด
                -               หยอดเมล็ด หรือ โรยเมล็ด
                -               คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้งบางๆ
                -               รดปุ๋ยน้ำให้ชุ่มทั่วแปลง
                -               รดน้ำ เช้า - เย็น
                -               3 วันแรกรดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นทุกวัน หลังจากนั้นรด 3 วัน/ครั้ง วันปกติรดน้ำธรรมดา



การดูแลรักษา
-               ผักเกือบทุกชนิดเพาะกล้าก่อนปลูกจะดี เพราะถ้าให้ร่นระยะเวลาในการลงปลูก สามารถปลูกได้หลายรุ่น และดูแลรักษาง่ายยกเว้นพืชผักที่ย้ายกล้าไม่ได้ เช่น แครอท หัวผักกาด การปลูกด้วยกล้า ทำให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย ดีกว่าปลูกด้วยเมล็ดแล้วต้องถอนทิ้งเมื่อผักแน่นเกินไป
-               ปกติจะใส่ปุ๋ยแห้งครั้งเดียว แต่ถ้าผักมีอายุยาวเกิน 50 วัน ให้สังเกตว่าผักไม่สวย ไม่สมบูรณ์ ก็ใส่ปุ๋ยแห้งได้ระหว่างแถว ไม่ให้ถูกต้นพืชผัก
-               การเตรียมแปลงดี ผักจะเจริญเติบโตเสมอกันทั้งแปลงผักต้นใดมีโรคให้งดน้ำ และรดด้วย EM สด ขยาย ผสมน้ำ 50 เท่า ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงให้น้ำต่อ
-               ผักมีหัวให้ขุดแปลงลึกๆ แหวะท้องหมูบ่อยๆ และใส่ปุ๋ยแห้งผสมให้ดี
-               การรดน้ำ ควรใช้บัวรดน้ำรูเล็กๆ ให้เป็นฝอยได้มากเท่าไรยิ่งดี
-               ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยางที่น้ำพุ่งแรงๆ จะทำให้ผักนอนราบ โดยเฉพาะผักกาดขาวจะห่อใบยาวขึ้นหากถูกน้ำซัดแรงๆ ทุกวัน
-               พ่นด้วยสารไล่ศัตรูพืช หรือ สารป้องกันเชื้อรา ทุกๆ 3 วัน
                 ข้อสังเกตุ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ควรปลูกผักกาดหอม ผักชีใบแหลม ปนกับผักอื่นๆ ปลูกต้นดาวเรือง ตะไคร้หอม ผกากรองไว้เป็นรั้ว และใช้ใบตะไคร้หอมมาคลุมแปลงผักจะป้องกันแมลงรบกวนได้ด้วย
การเก็บผลผลิต - การจำหน่าย
การเก็บผลผลิตควรดำเนินไปตามอายุของผักแต่ละประเภท และหาก ปลูกโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพดังกล่าวข้างต้น ควรเก็บก่อนกำหนด เล็กน้อยเพราะ
-               ผักธรรมชาติเจริญเติบโตเร็ว
-               ร่นระยะเวลาปลูก ลดแรงงาน และรายจ่าย
-               หากเก็บช้าหรือเกินอายุทำให้ผักมีภูมิต้านทานต่ำเกิดโรคได้
-               การเก็บควรใช้วิธีตัด ยกเว้นผักหัวใช้ถอน
-               ผักที่เป็นผลควรเก็บอย่างปราณีต เพื่อให้โอกาสเกิดผลใหม่อีก เช่น ถั่ว แตง
-               ผักทั่วไปเก็บแล้วล้างให้สะอาด บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
-               ผักที่เป็นฝัก เช่น ถั่ว เก็บแล้วไม่ต้องล้าง ไม่ต้องพรมน้ำ

ข้อควรจำ
ผักธรรมชาติทนทาน ขั้วไม่หลุดง่าย เหี่ยวยาก
ไม่ต้องแช่สารเคมี
น้ำพรมผักหรือแช่ผักควรผสม EM ด้วย
ไม่ควรนำผลผลิตไปขายร่วมกับแผงผักเคมี จะทำให้เสียคุณภาพ ควรเปิดแผงผักปลอดสารพิษหรือผักธรรมชาติ เพื่อสะดวกต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภค สามารถรับรองคุณภาพและสามารถกำหนดราคาได้ดีในอนาคต
ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกพืชผัก
กุมภาพันธ์ - เมษายน
- ผักชี หอม ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ถั่วฝักยาว แตงกวา มะระ ผักกาดเขียวปลี ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว
พฤษภาคม - กรกฎาคม
- ผักคะน้า กุยช่าย บวบเหลี่ยม ข้าวโพดหวาน หอมแดง
สิงหาคม - ตุลาคม(ปลายฝน)
- ผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว ผักกาดหอม พริก มะเขือเปราะ มะเขือยาว
ปลูกได้ทั้งปี
- ผักสวนครัวต่างๆ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ โหระพา แมงลัก ฯลฯ