สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (เกษม, 2540) จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น
ประเภทของสิ่งแวดล้อม
จากความหมายของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment)
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ( Natural Environment)
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
1. 1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) แบ่งได้ดังนี้
1.1.1 บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย กา๙ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ
1.1.2 อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ
1.1.3 ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุด ของโลกประกอบด้วยหินและดิน
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (อังกฤษ: natural environment) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าสิ่งแวดล้อม เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนโลกหรือบนภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยรวม
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สามารถจำแนกโดยดูจากองค์ประกอบ:
หน่วยทางนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์ทำหน้าที่เป็นระบบธรรมชาติโดยไม่มีการรบกวนของมนุษย์มากเกินไป ซึ่งรวมไปถึงพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ดิน หิน ชั้นบรรยากาศ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้ขอบเขตของสิ่งดังกล่าว
ทรัพยากรทางธรรมชาติทางจักรวาล และปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ไม่มีขอบเขตที่แน่ชัดซึ่งรวมไปถึงอากาศ น้ำ และภูมิอากาศ รวมไปถึงพลังงาน กัมมันตรังสี ประจุไฟฟ้า และความเป็นแม่เหล็ก ที่ไม่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแตกต่างกับสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์จะถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติก็ต่อเมื่อพื้นที่นั้น ๆ ได้รับผลกระทบจากมนุษย์ไม่เกินระดับที่กำหนดไว้
ที่มาhttp://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น