วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สิ่งแวดล้อม


สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (เกษม, 2540) จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น

ประเภทของสิ่งแวดล้อม 
        จากความหมายของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment) 

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ( Natural Environment) 
        แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต 
1. 1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) แบ่งได้ดังนี้ 
1.1.1 บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย กา๙ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ 
1.1.2 อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ 
1.1.3 ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุด ของโลกประกอบด้วยหินและดิน 
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (อังกฤษ: natural environment) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าสิ่งแวดล้อม เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนโลกหรือบนภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยรวม
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สามารถจำแนกโดยดูจากองค์ประกอบ:
หน่วยทางนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์ทำหน้าที่เป็นระบบธรรมชาติโดยไม่มีการรบกวนของมนุษย์มากเกินไป ซึ่งรวมไปถึงพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ดิน หิน ชั้นบรรยากาศ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้ขอบเขตของสิ่งดังกล่าว
ทรัพยากรทางธรรมชาติทางจักรวาล และปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ไม่มีขอบเขตที่แน่ชัดซึ่งรวมไปถึงอากาศ น้ำ และภูมิอากาศ รวมไปถึงพลังงาน กัมมันตรังสี ประจุไฟฟ้า และความเป็นแม่เหล็ก ที่ไม่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแตกต่างกับสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์จะถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติก็ต่อเมื่อพื้นที่นั้น ๆ ได้รับผลกระทบจากมนุษย์ไม่เกินระดับที่กำหนดไว้
ที่มาhttp://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โครงการพระราชดำริ


โครงการฝนหลวง

บัดนี้ โครงการฝนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริไว้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลแก่อาณาประชาราษฎร์ ช่วยให้พื้นที่ที่เคยแห้งแล้งกลับมีความชุ่มชื่น ก่อให้เกิดความชุ่มฉ่ำแก่แผ่นดิน แม้แต่น้ำในเขื่อนต่างๆ ที่ใกล้จะหมดก็มีปริมาณมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณ ในพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ที่มาhttp://tka29005.blogspot.com/


โครงการปลูกหญ้าแฝก



พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝกมีใจความสรุปได้ว่า

            ๑. หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมา
                 ศึกษาทด ลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง

            ๒. การดำเนินการทดลองการปลูกหญ้าแฝก ให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ดังนี้
                        ก. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
                            และช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย
                        ข. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ราบ ให้ดำเนินการในลักษณะดังนี้
                                    - ปลูกโดยรอบแปลง
                                    - ปลูกลงในแปลง แปลงละ ๑ หรือ ๒ แนว
                                    - สำหรับแปลงพืชไร่ ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
                        ค. การปลูกหญ้าแฝกรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำมิให้ตื้นเขินอันเนื่องมาจากตะกอนจากการพังทลายของดิน ตลอดจนช่วยรักษาดินเหนือ
                             อ่างและช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำทวีความสมบูรณ์ขี้นอย่างรวดเร็ว
                        ง. การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกแฝกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำทั้งนี้ให้บันทึกภาพ
                            ก่อนดำเนินการและหลังการดำเนินการไว้เป็นหลักฐาน

            ๓. ผลของการศึกษาทดลอง ควรเก็บข้อมูลทั้งทางด้านการเจริญเติบโตของลำต้นและราก ความสามารถในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของดินและการเก็บความชื้นในดินและเรื่องพันธุ์หญ้าแฝกต่าง ๆ

            ด้วยกรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ รวมไปถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนน ได้ร่วมในโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานด้านบำรุงทางและก่อสร้างทาง โดยเฉพาะทางหลวงที่ตัดใหม่ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินลาดคันทางและลาดเหนือคันทางในสายทางต่าง ๆ พร้อมทั้งส่งเสริมแผยแพร่ข้อมูลเทคนิควิชาการเกี่ยวกับหญ้าแฝกแก่หน่วยงานในส่วนภูมิภาค และจัดทำวิดีทัศน์โครงการปลูกหญ้าแฝกเกี่ยวกับการประยุกต์ เทคนิควิธีการปลูกหญ้าแฝกในงานทาง

      พื้นที่เป้าหมายใการดำเนินการปลูกหญ้าแฝกของกรมทางหลวงคือ เชิงลาดดินตัดเหนือคันทาง (Back Slope) เชิงลาดดินถมคันทาง (Side Slope) ที่สูงและมีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้างพังทลายของดิน สำหรับสายทางในพื้นที่ ภูเขา ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยดินทรายที่สลายตัวมาจากหินแกรนิตและหินทราย เป็นพื้นที่เป้าหมายเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและการอนุรักษ์ดิน

  การปลูกหญ้าแฝกบริเวณเชิงลาดทางมีอยู่ ๒ ลักษณะ ขึ้นอยู่กับสภาพความรุนแรงหรือแนวโน้มของการจะเกิดการชะล้างพังทลายของเชิงลาดทางคือ

            ๑. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่มีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินต่ำ การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เชิงลาดนี้เป็นรูปแบบการปลูกโดยทั่วไปมีลักษณะการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางแนวลาดเท โดยมีระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวอยู่ในช่วง ๑๐ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเท ประมาณ ๑.๐๐ เมตร

            ๒. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่ได้เกิดการชะล้างพังทลายหรือมีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินสูง การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลักษณะนี้เพื่อลดหรือป้องกันไม่ให้การพังทลายของดินเกิดลุกลามขยายตัวรุนแรงขึ้น หรือเป็นการปลูกในงานก่อสร้างแก้ไขการเคลื่อนตัวของดิน ลักษณะการปลูกจะลดระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวเป็น ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเทประมาณ ๕๐ เซนติเมตร

  จากการดำเนินการโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกของกรมทางหลวง สามารถสรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้

            ๑. การปลูกหญ้าแฝกบริเวณพื้นที่เชิงลาดถนนสามารถป้องกันหรือลดการชะล้างพังทลายของดินได้ และเป็นวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ราคาถูก ให้
                 ผลทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
            ๒. การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็น "Long Term Stabilized Slope" ในสภาวะที่เหมาะสมหลังการปลูกเป็นเวลา
                 ประมาณ ๑ ปี หรือ ๑ ฤดูฝน หญ้าแฝกจึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้ เนื่องจากรากจะเจริญเติบโตยาวประมาณ
                 ๑ เมตร และกอหญ้าแฝกในแถวจะเจริญเติบโตชิดติดกัน
            ๓. ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหญ้าแฝกเป็นช่วงตันฤดูฝนหรือช่วงระยะเวลาในฤดูฝน
            ๔. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกหญ้าแฝกประสบผลสำเร็จจ ได้ผลดีมีอัตราการรอดตายสูง คือ ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสม การปลูกหญ้า
                 แฝกในพื้นที่ภาคใต้ได้ผลดี เนื่องจากมีฤดูฝนยาวนานถึง ๗ เดือน
            ๕. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณลาดดินถมคันทาง (Side Slope) จะได้ผลดี หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกบริเวณลาดดินตัดเหนือคันทาง
                 (Back Slope) เนื่องจากสภาพความสมบูรณ์และลักษณะความแน่นของดิน
            ๖.หลังการปลูกหญ้าแฝกมีความจำเป็นที่ต้องดูแลรักษา กำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ย เป็นเวลา ๑ - ๒ ปี
            ๗. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้าง พังทลายของดินได้สูงหรือรุนแรงหรือบริเวณที่ได้เกิดการเคลื่อนตัวของดินแล้วให้ลด
                 ระยะห่างของการปลูกลงโดยมีระยะห่างระหว่างกอแฝก ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร
            ๘. กล้าหญ้าแฝกที่ปลูกควรเป็นกล้าแฝกที่ปลูกชำในถุงพลาสติกที่อภิบาลไว้ก่อนนำไปปลูกประมาณ ๔๕ - ๖๐วัน
            ๙. การปลูกหญ้าแฝกในบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ภาคเหนือหญ้าแฝกไม่เจริญเติบโตหรือเจริญเติบโตไม่ดี เนื่องจากหญ้าในพื้นที่หรือวัชพืช
                 เจริญเติบโตงอกงามและแพร่พันธุ์ได้เร็วกว่า

                กรมทางหลวงได้นำเทคนิควิธีการหญ้าแฝกมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน และได้มีการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เทคนิคการปลูกหญ้าแฝกในงานทางแก่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงในส่วนภูมิภาค เพื่อเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงได้มีความรู้เข้าใจถึงประโยชน์ของหญ้าแฝกในการป้องงกันการชะล้างพังทลายของดิน เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นและประหยัดงบปประมาณด้านบำรุงรักษา โดยได้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ปลูกในสายทางต่าง ๆ ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ในสายทางพื้นที่ภูเขาภาคเหนือ-ภาคใต้ ในลักษณะที่เป็นงานส่วนหนึ่งซี่งสามารถกระทำได้เป็นปกติ ที่ดำเนินการได้เอง เมื่อเกิดปัญหาในงานบำรุงปกติ งานก่อสร้างแก้ไขการเคลื่อนตัวของเชิงลาด (Slide) ตลอดจนแขวงการทางบางแห่งได้มีการปลูกขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝกสำรองไว้ใช้เอง

          กรมทางหลวงได้ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่สายทางงานก่อสร้างทางและงานบำรุงทาง ในแต่ละปีประมาณ ๔ ล้าน กล้า เพื่อเป็นการ "ปลูกหญ้าแฝก ปลูกแผ่นดิน" ตามแนวพระราชดำริ

 ที่มาhttp://siweb.dss.go.th/sci60/team49/work/work_9.htm



โครงการแกล้งดิน


แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นท ี่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก ๑ - ๒ เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก

ที่มาhttp://dit.dru.ac.th/ka/a33.php



โครงการพลังงาานทดแทน


   พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลชีวมวลจากน้ำมันปาล์ม (โดยสังเขป)ปี 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด จ.กระบี่


          ปี 2531 ทรงมีพระราชกระแสให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็ก ขนาดกำลังผลิตวันละ 110 ลิตร ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

        ปี 2534 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มระบบ “ทอดภายใต้สุญญากาศ”

          3 ก.ย. 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์เริ่มงานทดลองใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันดีเซล ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

          10 พ.ย. 2543 รับสั่งแก่นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ว่าทรงมีพระราชประสงค์จะให้รัฐบาลริเริ่มโครงการแปรรูปน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันดีเซลชีวภาพในประเทศไทย

          12 พ.ย. 2543 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (นายอาทิตย์ อุไรรัตน์) รับจะสนองพระราชดำริ

          ม.ค. 2544 พระราชทานงบประมาณจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวนเงินประมาณ 8 ล้านบาท ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดกำลังผลิต 2 ตันทะลายต่อชั่วโมง ที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด จ.กระบี่ และงบประมาณ 3 ล้านบาท และเครื่องยนต์ขนาด 8 แรงม้า 3 เครื่อง รถไถเดินตามขนาด 11 แรงม้า 2 คัน และขนาด 8 แรงม้า 2 คัน เพื่อใช้ในโครงการทดสอบการใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันดีเซล ในเครื่องจักรกลการเกษตร

          11 เม.ย. 2544 มีพระบรมราชโองการให้องคมนตรี (นายอำพล เสนาณรงค์) เป็นผู้แทนพระองค์ยื่นจดสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์


          18 เม.ย. 2544 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) แถลงแก่คณะรัฐมนตรีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้รัฐบาลดำเนินการวิจัยนำน้ำมันปาล์มมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง

          10 พ.ค. 2544 ในวันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มี 4 หน่วยงาน นำผลงานเกี่ยวกับการวิจัยใช้น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ไปจัดนิทรรศการในพระตำหนักสวนจิตรลดา ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ บริษัท ยูนิวานิช จำกัด

          2 มิ.ย. 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ไปวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่าน ที่ อ.เมือง จ.นครนายก เสด็จ ฯ ถึงสนามจอดเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งเวลาประมาณ 16.30 น. แล้วเสด็จไปทอดพระเนตรบริเวณโดยรอบโครงการบนเขาลอย ซึ่งมีความสูงประมาณ 100 เมตร แล้วเสด็จ ฯ ลงมาบริเวณพลับพลาพิธี เมื่อเสร็จพิธีแล้วเสด็จ ฯ ไปยังอาคารรับรองจนถึงเวลาประมาณ 20.00 น. จึงเสด็จ ฯ กลับพระนคร ตลอดเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งสองพระองค์ได้ประทับรถยนต์พระที่นั่งสีขาว ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 2,000 ซีซี เป็นรถยนต์ที่สร้างในประเทศสเปน ด้านหลังรถพระที่นั่งมีป้ายภาษาไทยเขียนว่า “รถยนต์คันนี้ใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 100 %”

ที่มาhttp://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2