วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

เกษตรในหลวง


ร่วมนำเสนอเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่จน


จุลินทรีย์บำบัดน้ำ - ข้อเท็จจริงที่อาจจะยังไม่ได้รับการชี้แจงให้สังคมเข้าใจอย่างถูกต้อง
ในสถานะการณ์ที่กรุงเทพกำลังเผชิญกับวิกฤตน้ำท่วมก็ถือว่าลำบากแล้วแต่อีกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจากน้ำท่วมครั้งนี้คือ "สิ่งปฏิกูลที่มากับน้ำ" ซึ่งมันส่งผลให้คุณภาพของน้ำดีกลายเป็น "น้ำเน่าเสีย" ส่งกลิ่นและนำมาซึ่งโรคร้ายมากมายจนประเด็นเรื่องการนำ "จุลินทรีย์มาบำบัดน้ำ" กลายเป็นเรื่องที่นำมาถกเถียงกันในสังคมอย่างกว้างขวางในทำนองทั้งด้านลบและด้านที่เป็นประโยชน์ และเพื่อให้คนเมืองที่ห่างไกลกับเรื่องเหล่านี้ได้เข้าใจเราจึงต้องมาทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมโลกของเรานี้ให้ถ่องแท้...อย่าลืมนะครับว่าสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่เกิดขึ้นในโลกนี้คือสิ่งมีชีวิตประเภทจุลินทรีย์นี่เอง

  

วนเกษตร

                      เป็นเกษตรกรรมที่นำเอาหลักการความยั่งยืนถาวรของระบบป่า ธรรมชาติ มาเป็นแนวทางในการทำการเกษตร ให้ความสำคัญเป็นอย่างสูงกับการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล และไม้ใช้สอยต่าง ๆ ให้เป็นองค์ประกอบหลักของไร่นา ผสมผสานกับการปลูกพืชชั้นล่างที่ไม่ต้องการแสงแดดมาก หรือได้อาศัยร่มเงา และความชื้นจากการที่มีพืชชั้นบนขึ้นปกคลุม รวมทั้งการจัดองค์ประกอบการผลิตทางการเกษตรให้มีความหลากหลายชนิดของพืชและ สัตว์

                      คำว่า วนเกษตรถูกใช้มาก่อนหน้านี้ โดยนักวิชาการและหน่วยงานด้านป่าไม้ โดยให้ความหมายที่มีนัยของการทำป่าไม้ผสมผสานร่วมกับการปลูกพืชและเลี้ยง สัตว์ ทั้งนี้ วนเกษตรเป็นที่รู้จักกว้างขวางในสังคมไทย จากการบุกเบิกของผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม เมื่อปลายทศวรรษที่2520 อันเนื่องมาจากประสบการณ์ชีวิตที่ประสบกับปัญหาความล้มเหลวจากการทำ เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวในเชิงพาณิชย์ครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ท่านตัดสินใจขายที่ดินส่วนใหญ่ เพื่อนำไปชำระหนี้สิน แล้วใช้พื้นที่เล็ก ๆ ที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่ไร่ แปรสภาพไร่มันสำปะหลังเป็นระบบวนเกษตร ปลูกไม้ยืนต้น และพืชสมุนไพรผสมผสานกัน และมีวิถีชีวิตที่พึ่งตนเองได้ปรัชญาและ ประสบการณ์ชีวิตของเกษตรกรท่านนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้เกิดแนวความคิดเกษตรกรรมทางเลือก เกษตรกรรมยั่งยืนในสังคมไทยต่อมา


แมลงดำหนามมะพร้าว

แมลงดำหนามมะพร้าวเป็น แมลงศัตรูมะพร้าวที่สำคัญชนิดหนึ่ง แม้ว่าในประเทศไทยจะเคยพบมาก่อน แต่เป็นคนละชนิดกับที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในปัจจุบัน แมลงดำหนามที่เคยพบมาก่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plesispa reichei Chapuis หรือ P. sispinae ซึ่งเข้าทำลายหรืออาศัยอยู่ในใบอ่อนของมะพร้าว อยู่เป็นประจำ แต่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน

แหนแดง (Azolla)


แหนแดงเป็นพืชน้ำเล็กๆพวกเฟิร์นชนิดหนึ่งเจริญเติบโตลอย อยู่ผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น

เราจะเปลี่ยนประเทศได้อย่างไร?
Published by admin on พฤษภาคม 27th, 2010

3 ห่วง 2 เงื่อนไข : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3 ห่วง 2 เงื่อนไข : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่สำคัญที่สุด ทุกคนควรเข้าใจ คำนิยามว่าความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วง คือ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะ

การเพาะเมล็ด หลายครั้งสร้างความสงสัยอย่างมากให้กับผู้ปลูก เนื่องจากการเพาะมีกระบวนการที่แตกต่างกันไปหลากวิธี บ้างเพาะง่าย บ้างเพาะยาก ลองไปดูส่วนประกอบของเมล็ด และปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดกัน รวมถึงวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ด เพื่อให้เมล็ดงอกได้เร็วยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบของเมล็ด ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

ฟุตบอลโลก

ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (อังกฤษ: FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยมีชุดทีมชาติชายร่วมเข้าแข่งในกลุ่มสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) การแข่งขันจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ใน ฟุตบอลโลก 1930 ยกเว้นในปี ค.ศ. 1942 และ 1946 ที่งดเว้นไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทีมชนะเลิศการแข่งขันครั้งล่าสุดคือทีมชาติสเปน ที่ชนะในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2010 และจะเข้ารักษาแชมป์ เข้าสู่รอบสุดท้าย ในการแข่งขันครั้งต่อไป ที่จะจัดขึ้นในประเทศบราซิล

รูปแบบการแข่งขันในปัจจุบัน การแข่งขันประกอบด้วย 32 ทีม เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในสถานที่จัดงานของประเทศเจ้าภาพ ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณ 1 เดือน การแข่งขัน 32 ทีมสุดท้ายนี้เรียกว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ส่วนในรอบคัดเลือกที่แข่งขันก่อนหน้านั้น จะในปัจจุบันต้องใช้เวลาร่วม 3 ปี เพื่อตัดสินว่าทีมใดที่จะร่วมเข้าแข่งกับทีมประเทศเจ้าภาพ

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 19 ครั้ง มีชาติที่ชนะในการแข่งขัน 8 ชาติ ทีมชาติบราซิลชนะ 5 ครั้ง และเป็นทีมเดียวที่เข้าร่วมการแข่งขันในทุกครั้ง ส่วนทีมชาติอื่นที่ชนะการแข่งขันคือ ทีมชาติอิตาลี ชนะ 4 ครั้ง, ทีมชาติเยอรมนี ชนะ 3 ครั้ง, ทีมชาติอาร์เจนตินาและทีมชาติอุรุกวัย ชนะ 2 ครั้ง และ ทีมชาติอังกฤษ ทีมชาติฝรั่งเศส และทีมชาติสเปน ชนะ 1 ครั้ง

การแข่งขันฟุตบอลโลกถือเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก มีผู้ชมราว 715.1 ล้านคนในการแข่งขันนัดตัดสินการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี[1]

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
1.1 การแข่งขันฟุตบอลนานาชาติยุคก่อน
1.2 ฟุตบอลโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
1.3 ฟุตบอลโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
1.4 ขยายเป็น 32 ทีม
1.5 การแข่งขันอื่นของฟีฟ่า
2 ถ้วยรางวัล
3 รูปแบบการแข่งขัน
3.1 รอบคัดเลือก
3.2 รอบสุดท้าย
4 เจ้าภาพ
4.1 ขั้นตอนการคัดเลือก
4.2 ผลการแข่งขันของเจ้าภาพ
5 การจัดการและสื่อครอบคลุม
6 ผลการแข่งขัน
6.1 ผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลก
6.2 ทีมที่ติด 4 อันดับแรก
6.3 ผลงานที่ดีที่สุดในแต่ละทวีป
7 รางวัลฟุตบอลโลก
8 สถิติ
9 ดูเพิ่ม
10 เชิงอรรถและอ้างอิง
11 บรรณานุกรม
12 แหล่งข้อมูลอื่น

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ฟุตบอลไทย


ทีมก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ในนาม คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม และเล่นการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก(พบกับทีมฝ่ายยุโรป) ที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20 ธันวาคม ในปีนั้น จนวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ โดยลงเล่นในการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2492 เมื่อสยามกลายเป็นประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956ที่เมลเบิร์น โดยเป็นครั้งแรกของทางทีมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยจับฉลากพบกับสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 0-9 (ความพ่ายแพ้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์) และไม่ผ่านเข้ารอบก่อนชิงชนะเลิศ โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ 1 โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และทีมชาติโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[1] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ นักฟุตบอลในชุดโอลิมปิกนั้น ไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนีเพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ประเทศไทยคว้าเหรียญทองในกีฬาแหลมทอง(ปัจจุบันเรียกว่าซีเกมส์) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จนถึง พ.ศ. 2552 ประเทศไทยชนะเลิศการแข่งขันทุกๆสองปีรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง

ทีมไทยได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อนอีกครั้งในปีพ.ศ. 2511 โดยแพ้ต่อทีมชาติบัลแกเรีย 0-7, ทีมชาติกัวเตมาลา 1-4 และทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย 0-8 ตกรอบแรกในการแข่งขัน ซึ่งผู้ชนะในคราวนี้ คือทีมชาติฮังการี ได้เหรียญทองไปครอง ซึ่งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิคเป็นครึ่งสุดท้ายจนถึง พ.ศ. 2552

ปี สมาคม
2459 ก่อตั้ง
2468 ฟีฟ่า
2500 เอเอฟซี
2537 เอเอฟเอฟ
ในปี 2515 ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอล เอเชียนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพครั้งที่ 5 โดยในการแข่งขันนี้ ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 โดยยิงลูกโทษชนะทีมชาติกัมพูชา 5 ประตูต่อ 3 ภายหลังจากเสมอกัน 2 ต่อ 2 ซึ่งในการแข่งขันนี้ ทีมชาติอิหร่าน ชนะเลิศ และทีมชาติเกาหลีใต้ ได้รางวัลรองชนะเลิศตามลำดับ

ในปี 2519 ประเทศไทยได้แชมป์คิงส์คัพครั้งแรก โดยเป็นแชมป์ร่วมกับ ทีมชาติมาเลเซีย ภายหลังจากที่มีการเริ่มมีการจัดคิงส์คัพในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 โดยต่อมาทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์คิงส์คัพอีกหลายครั้งรวมทั้งสิ้น 10 ครั้งด้วยกัน

สำหรับการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ ทีมชาติไทยยังไม่สามารถที่จะชนะเลิศได้ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2533 เช่นเดียวกับ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2541 และ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้นที่ ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2545และครั้งล่าสุดเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นที่ โดฮา ในปี พ.ศ. 2549 ทีมชาติไทยก็เป็นทีมเดียวในย่านอาเซียนที่ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ (8 ทีมสุดท้าย) ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมเข้ารอบโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่มซี

ในปี 2537 ไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน กับอีก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลก มาแข่งขันกับในประเทศไทยหลายครั้ง ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์ (2540) ลิเวอร์พูล (2544) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2547) เอฟเวอร์ตัน (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่อังกฤษ[2]) และสโมสรชั้นนำอื่น ๆ และในปี 2551 ไทยตกรอบฟุตบอลรอบคัดเลือก รอบ 20ทีมสุดท้าย โดยได้อยู่สายเดียวกับทีมอย่าง ญี่ปุ่น โอมาน บาห์เรน โดยไทยแข่ง6นัด ไม่ชนะใครเลย แพ้5เสมอ1 ทำให้ชาญวิทย์ ผลชีวิน ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นไม่นาน ปีเตอร์ รีด อดีตนักเตะเอฟเวอร์ตันและทีมชาติอังกฤษ ก็เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ไทย ก็พลาดแชมป์ อาเซียน คัพ โดยการแพ้เวียดนามรวมผลสองนัด 3-2 และยังพลาดคิงส์ คัพ อีกรายการหนึ่งโดยดวลจุดโทษแพ้ เดนมาร์ก จนถึงช่วงเดือนกันยายน ปี 2552 ปีเตอร์ รีด ถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากอนาคตที่ไม่แน่นอนในการคุมทีมชาติเพราะรีด มีข่าวว่าจะไปทำงานที่สโมสร สโต๊ค ซิตี้ โดยเป็นผู้ช่วยของ โทนี่ พูลิส ผู้จัดการทีมสโต๊ค ซิตี้

ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทีมชาติไทยแพ้ต่อ 2-0 สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้ ในวันสุดท้ายของของฟ๊อกซ์ทัวร์ที่ประเทศไทย